งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ชื่อ การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหมู่บ้านทรงไทยปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้จัดทำ สมบัติ เชื้อทหาร

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหมู่บ้านทรงไทยปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสุมทรสงคราม มีวัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหมู่บ้านทรงไทยปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

2) เพื่อศึกษษผลกระทบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านทรงไทย ปลายโพงพาง ด้วยวิธีเชิงคุณภาพโดยมีขอบเขตด้านพื้นที่การศึกษาคือตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ชุมชนตำบลปลายโพงพางสามารถจัดการให้ชุมชนที่เดิมมีประชาชนมีวิถี ชีวิตที่เรียบง่ายและสงบแวดล้อมด้วยสวนไม้ผล ต้นจาก ตลอดสองฝั่งคลองและลำกระโดงสภาพบ้านเรือนเป็น บ้านทรงไทยที่มีอายุประมาณ 100 ปีเป็นเอกลักษณ์ มาเป็นชุมชนที่มีการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหมู่บ้านทรงไทยปลายโพงพางได้ นั้นเกิดจากปัจจัย 3 ประการคือ

1) นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม

2) สภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมของตำบลปลายโพงพาง และ

3) การได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ส่งเสริมการท่อง เที่ยวโดยตรง คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยภาครัฐคือ จังหวัดสมุทรสงครามและการร่วมมือดำเนินการของชุมชนคือ ชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่น ผลกระทบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านทรงไทยปลายโพงพาง ที่พบมี 2 ด้านได้แก่ผลกระทบในด้านดีคือ มีการปรับปรุงบ้านพักให้สะอาดและทันสมัย การสร้างความรักในท้องถิ่นและความภูมิใจของชุมชน ตลอดจนการเกิดความเข้าใจและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเชื้อชาติ รวมถึงการทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนการศึกษาผลกระทบในด้านเสียพบว่าการพังทลายของฝั่งคลอว มลภาวะทางเสียง และปัญหาขยะที่ทำความสกปรกให้กับคูคลองซึ่งส่วนมากเกิดจากนักท่องเที่ยวที่ ไม่ได้พักค้าง

 

 

 

ชื่อ รูปแบบการสนทนาเพื่อการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองชาวไทยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ

ผู้จัดทำ มนูญ มะโนหาญ

บทคัดย่อ ศึกษารูปแบบการสนทนาโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ด่าน ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงรายและเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด เชียงใหม่ในการตรวจลงตราต่ออายุและการสงวนสิทธิ์กับนักท่องเที่ยวชาวต่าง ประเทศ ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลการสนทนาภาษาอังกฤษระหว่างเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้า เมืองชาวไทยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 18 คู่สนทนา การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการบันทึกเทปการสนทนา การสังเกต การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ “Discourse Analysis” ที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สนทนาและรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษในการตรวจลงตรา การต่ออายุ และการสงวนสิทธิ์ด้านอื่นๆ ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่ใช้รูป แบบการพูดสนทนาทั้งหมด 11 รูปแบบ รูปแบบที่ใช้มากที่สุด คือ รูปแบบการพูดอธิบาย รองลงมาคือ รูปแบบการพูดให้ข้อมูลและรูปแบบที่ใช้น้อยที่สุด คือ รูปแบบการพูด กล่าวลา และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศใช้รูปแบบการพูดสนทนาทั้งหมด 11 รูปแบบ รูปแบบที่ใช้มากที่สุด คือ รูปแบบการทำการตกลงร่วมกัน รองลงมาคือ รูปแบบการพูดอธิบายและรูปแบบที่ใช้น้อยที่สุด คือ รูปแบบการกล่าวขอโทษ

ชื่อ งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการจัดโฮมสเตย์ในประเทศไทย

ผู้จัดทำ รัตนภรณ์ มหาศรานนท์

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการจัดโฮมสเตย์ ในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการจัดโฮมสเตย์ ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวซึ่งเข้าพักในโฮมสเตย์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2545 จำนวน 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและสัมภาษณ์ซึ่งผู้วิจัยจัดทำขึ้น จำนวน 1 ชุด ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 97.8 เป็นคนไทย มีวัตถุประสงค์ที่จะพักผ่อนโดยระยะเวลาของการพัก ณ โฮมสเตย์ คือ 1 วัน 1 คืน ความต้องการของกลุ่มตัวอย่างเรียงจากคะแนนสูงสุด ได้แก่ การต้อนรับที่เต็มใจ ความซื่อสัตย์ การไม่หลอกลวงเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ความปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ความเป็นกันเอง ความเอื้อเฟื้อ ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ความต้องการที่จะได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ผู้ประสานงานรู้ข้อมูลเป็นอย่างดี ต้องการเรียนรู้วิถีชีวิต การนำชมสถานที่ท่องเที่ยว การติดต่อสื่อสารที่เข้าใจ ตัวแปรซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาภูมิลำเนา อายุ

 

 

 

ชื่อ ชุมชนเกาะปันหยีภายใต้กระแสการท่องเที่ยว

ผู้จัดทำ กำไล จินดาพล

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา พัฒนาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ตลอดจนการปรับตัวของชุมชนเกาะปันหยีภายหลังจากมีส่งเสริมการท่องเที่ยวโดย รัฐและเพื่อศึกษา ผลกระทบในด้านต่างๆ รวมถึงศึกษาศักยภาพของชุมชน ในการดำรงอยู่ของชุมชนภายใต้กระแสการท่องเที่ยว ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาจากชุมชนเกาะปันหยี โดยศึกษาจากเอกสารและเครื่องมือภาคสนาม การสัมภาษณ์และการสังเกตในพื้นที่ ผลของการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนเกาะปันหยีโดยการพัฒนาการท่องเที่ยว ของภาครัฐที่มีการประกาศพื้นที่ชุมชนให้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อทำการอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว ก่อนการท่องเที่ยวจะเข้าไปเดิมชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่พึ่งพาทรัพยากร ธรรมชาติใกล้ตัวเพื่อการอยู่รอด และคนในชุมชนก็อยู่อย่างเครือญาติพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีรูปแบบเอกลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมที่เคร่งครัดในศาสนา เชื่อฟังผู้นำที่เป็นผู้นำทางศาสนา แต่เมื่อมีการท่องเที่ยวเข้าไป รูปแบบชุมชนได้ปรับเปลี่ยนทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรมรวมไปถึงปัญหาสิ่งแวด ล้อมที่เข้ามาพร้อมกับการท่องเที่ยว และในด้านเศรษฐกิจของชุมชนก็ได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงโดยคนกลุ่มใหญ่ ได้เปลี่ยนจากชาวประมง ไปเป็นแม่ค้าหรือเปลี่ยนเรือหาปลาไปเป็นเรือรับส่งนักท่องเที่ยว โดยคนกลุ่มนี้มีวิถีชีวิตแบบคนเมือง มีเพียงกลุ่มคนส่วนน้อยที่ยังยึดอาชีพดั้งเดิม และยังคงมีวิถีชีวิตแบบเดิม หลังจากการท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน ความเป็นชุมชนยังคงอยู่แต่ในด้านความสัมพันธ์และในด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นรวม ไปถึงกิจกรรมทางศาสนาลดความเข้มข้นลงไป ชีวิตแบบใหม่ทุกคนมุ่งในเรื่องประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและผลกระทบที่ชุมชนเกาะปันหยีได้รับ หากมองในประเด็นของศักยภาพชุมชนแล้ว ยังพบว่าชุมชนยังไม่มีความพร้อมที่จะพัฒนาให้ยั่งยืนและเข้มแข็งได้ ยังจะต้องมีการพัฒนาในทุกๆด้าน และภายหลังจาการเกิดเหตุกาณณ์ภัยพิบัติเมื่อปลายปี 2547 ได้ส่งผลกระทบจากการท่องเที่ยวในแถบอันดามันและรวมไปถึงเกาะปันหยีที่ได้รับ ผลกระทบเช่นกัน ทำให้กลุ่มคนที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและมีชีวิตความเป็นอยู่แบบคนเมืองจะ ต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่ว่าอาชีพและความเป็นอยู่ของตนและครอบครัวนั้นเป็น สิ่งที่มั่นคงถาวรหรือไม่และใช่ตัวตนที่แท้จริงของตนเองหรือเปล่า การที่ภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะพัฒนาชุมชนอื่นๆ ให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวภาครัฐน่าจะศึกษาศักยภาพของชุมชนนั้นๆ ก่อนว่ามีความพร้อมและศักยภาพพอที่จะมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวหรือเปล่า และจะมีทิศทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นอย่างไรโดยควรมีการร่วมมือกัน ระหว่างทุกฝ่ายในชุมชนเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมส่งเสริมและพัฒนาการท่อง เที่ยวไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐ เอกชน หรือประชาชนในพื้นที่ และควรมีการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเกาะปันหยีเอง

 

 

 

เรื่อง โครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน : ผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ

ผู้จัดทำ ชลทิชา จันทรบุตร

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ( Servey Research ) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ซึ่งเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 จำนวนทั้งสิ้น 200 คน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ ( 1 ) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อ ประชาชนในกิจกรรมต่างๆ 5 ด้าน คือ ด้านการบริการทั่วไป ด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการประชาสัมพันธ์และการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน และด้านการปรังปรุงสถานที่ทำการและสภาพแวดล้อม และ ( 2 ) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่าง ประเทศที่มีต่อการให้บริการของสถานีตำรวจท่องเที่ยว โดยตัวแปรที่ผู้วิจัยเลือกศึกษาได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และภูมิลำเนาผลการศึกษาพบว่า 1. นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีความคิดเห็นว่าการดำเนินการและการให้บริการของ สถานีตำรวจท่องเที่ยวตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนมีระดับการให้ บริการอยู่ในระดับปานกลาง2. นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาภาพภูมิหลังด้าน การศึกษา และภูมิลำเนาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินการและการให้บริการของ สถานีตำรวจท่องเที่ยวตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนแตกต่างกัน ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีสภาพภูมิหลังด้าน เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินการและการให้ บริการของสถานีตำรวจท่องเที่ยวตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนไม่แตก ต่างกัน

ชื่อ การวิเคราะห์การรับรู้เครื่องหมายในแผนที่ท่องเที่ยว

ผู้จัดทำ อรณิช ชูวีระ

บทคัดย่อ การค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ

1) เพื่อศึกษาประเมินการรับรู้ของเครื่องหมายในแผนที่การท่องเที่ยว

2) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาการออกแบบเครื่องหมายในแผนที่การท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดสอบให้การศึกษาครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวหรือผู้มีความต้องการใช้แผนที่ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งหมด 50 คน ช่วงอายุ 20 – 50 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบทดสอบที่แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่

1) แบบทดสอบการจัดอันดับ

2) แบบทดสอบการวาดภาพ

3) แบบทดสอบการเติมความหมายของเครื่องหมายที่กำหนดให้

 

 

ชื่อ ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในเมืองฮอยอัน ประเทศ เวียดนาม ภายหลังได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก

 

ผู้จัดทำ อัสมา สิมารักษ์

 

บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์

1) ศึกษาความเป็นมา และสภาพความเป็นอยู่ดั้งเดิมของเมืองฮอยอัน ก่อนที่จะได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก

2) ศึกษาถึงกระบวนการการเข้าเป็นเมืองมรดกโลกของเมืองฮอยอัน

3) ศึกษาผลกระทบด้านบวกและด้านลบจากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นต่อสังคม ภายหลังเมืองฮอยอันได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก

4) ศึกษาผลกระทบด้านบวกและด้านลบจากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นต่อวัฒนธรรม ภายหลังเมืองฮอยอันได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก

 

ชื่อ วิธีการนำเสนอเชิงละครในรายการสารคดีท่องเที่ยวทางโทรทัศน์

ผู้จัดทำ รัชดาภรณ์ มอญขาม

บทคัดย่อ การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบรายการสารคดีท่อง เที่ยวทางโทรทัศน์ที่มีการนำเสนอเชิงละคร และเทคนิควิธีการนำเสนอเชิงละคร โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการนำเสนอของรายการ “บันทึกปลายฟ้า” โดยใช้ทฤษฎีการเล่าเรื่อง แนวคิดรูปแบบรายการสารคดีและละคร และองค์ประกอบทางละคร เป็นกรอบในการศึกษา นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกผู้ผลิตรายการ ผู้เขียนบท และผู้ควบคุมการตัดต่ออีกด้วย ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบของรายการ “บันทึกปลายฟ้า” เป็นสารคดีท่องเที่ยวที่มีการดำเนินเรื่องด้วยวิธีการนำเสนอเชิงละคร เนื้อหาของรายการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เนื้อหาทางด้านสารคดี ได้แก่ ข้อมูลการท่องเที่ยวต่าง ๆ และเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวทางละคร โดยสารที่แตกต่างกันทั้งสองส่วนนี้ถูกนำเสนอสลับกันไปผ่านวิธีการดำเนิน เรื่องแบบละคร เทคนิควิธีการนำเสนอเชิงละครในงานสารคดีท่องเที่ยว “บันทึกปลายฟ้า” ได้มีการใช้องค์ประกอบ และ รูปแบบการเล่าเรื่องทางละคร ได้แก่ แก่นเรื่อง ตัวละคร โครงเรื่อง บทสนทนา ดนตรี ฉากและสถานที่ อย่งไรก็ตามข้อมูลการท่องเที่ยวที่เป็นเนื้อหาทางด้านสารคดี ไม่ได้ถูกนำมาสร้างเป็นละครแต่อย่างใด เนื้อหาดังกล่าวเพียงแต่ถูกนำเสนอแทรกผ่านการดำเนินเรื่องเชิงละคร ซึ่งถือเป็นกลวิธีในการสร้างอรรถรส สีสัน ความเพลิดเพลิน เพื่อดึงดูดผู้ชมให้รู้สึกสนุกไปกับการรับข้อมูล

ใส่ความเห็น