วิธีการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว

สาระสำคัญ

                ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง  เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเยือน

ท้องถิ่นของตน  ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ข่าวสารไร้พรมแดน  การโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็น

การ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว   เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดรูปแบบการท่องเที่ยวให้สนองความต้องการของนักท่อง เที่ยว  และนำมาใช้ในการคำนวณต้นทุน-กำไรในการจัดธุรกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง    รู้และเข้าใจการจัดทำธุรกิจท่องเที่ยวในรูปแบบบริษัทนำเที่ยวจำลองได้

จุดประสงค์นำทาง              สามารถดำเนินการธุรกิจท่องเที่ยวในรูปแบบบริษัทนำเที่ยวจำลองได้

เนื้อหาสาระ

นักจัดบริการ ท่องเที่ยวที่ดี  คือบุคคลที่ไม่อยู่นิ่ง  ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดในการสร้างสรรค์  เพื่อให้เกิดการขายการท่องเที่ยวให้มากที่สุด  และต้องเป็นผู้มองสังคมกว้าง รู้จักสังเกต  เพราะในธุรกิจทุกชนิดย่อมมีการแข่งขันกัน  เพื่อให้ธุรกิจของตนนั้นเป็นที่รู้จักและสนใจของลูกค้า  ดังนั้น  ผู้จัดการบริการท่องเที่ยวจะต้องสังเกตการเคลื่อนไหวของตลาด  พิจารณาคู่แข่งในตลาด  และหาวิธีการที่จะโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวหรือลูกค้ารู้จัก และสนใจในบริษัทของตน  เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จต่อไป

สิ่งที่ผู้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวจะต้องคำนึงถึงในการแข่งขันในตลาด  คือ

1.การส่งเสริม การขาย   หมายถึง  การทำให้เกิดการขายให้มากที่สุด  การส่งเสริมการขาย  อาจทำโดยมีบริการพิเศษเรื่อง  ที่พัก  อาหาร  ของแถม  เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความ

ประทับใจ  จูงใจนักท่องเที่ยว  และมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน

2. การบริการ  หมายถึง  การสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยว  และให้เขากล่าวถึงและชักชวนให้ นักท่องเที่ยวอื่น ๆ มาใช้บริการ  หรือตัวเขาเองกลับมาใช้บริการอีก

3. การพิจารณาราคา  หมายถึง ธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจด้านการบริการ  ซึ่งก็ต้องมีการแข่งขันกัน  นักท่องเที่ยวสามารถเปรียบเทียบราคาได้จากการบริการและคุณภาพที่เหมาะสมการ กำหนดราคาจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพด้านการบริการและคู่แข่งขันด้วย

การจัดการขายบริการธุรกิจการท่องเที่ยวกระทำได้หลายวิธี  อีกทั้งเป็นเรื่องที่ทั้งท้องถิ่น   รัฐบาล หน่วยงานของรัฐ    ที่เกี่ยวข้องและเอกชนต้องร่วมมือกัน   เพื่อเผยแพร่ให้นักท่องเที่ยวได้ข้อมูลการท่องเที่ยวที่ถูกต้อง  การโฆษณาประชาสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะสร้างเผยแพร่ข่าวสารที่ถูก ต้องให้เข้าใจตรงกัน

การโฆษณา  หมายถึง  การเผยแพร่สินค้าหรือบริการ  เพื่อมุ่งส่วนยึดครองทางการตลาด คือ ลูกค้าสนใจและซื้อบริการ

การประชาสัมพันธ์  หมายถึง  การเผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชนรับรู้โดยมิได้มุ่งหวังจะจำหน่ายสินค้าหรือ บริการ  แต่มุ่งจะยึดครองจิตใจ  ความนิยมชมชอบจากประชาชนการโฆษณา

ประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือกเดินทางไปพักผ่อนศึกษาหาความรู้ได้ทัน

ตามความพอใจและตามสภาพฐานะที่จะอำนวยของแต่ละบุคคล

เครื่องมือที่จะช่วยกระจายหรือเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ  ได้แก่

1. ศูนย์ประชาสัมพันธ์ของท้องถิ่นหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน

2. หนังสือพิมพ์ , หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

3. นิตยสาร  เช่น  อสท. , เที่ยวรอบโลก , คู่มือท่องเที่ยวของบริษัทน้ำมัน

4. วิทยุ ในรูปของการสปอนเซอร์รายการ

5. โทรทัศน์ ในรายการโฆษณาภาคปกติ  หรือจัดในรูปแบบ  SPOT  T.V.  ใช้เวลา15 –  30   นาที  หรือการจัดรายการในรูปของการนำเที่ยว

6.  ป้ายโฆษณากลางแจ้ง

7. แผ่นปลิวโฆษณา , แผ่นพับ

 

8. อินเตอร์เน็ต   ซื้อขายทัวร์ผ่านเว็บไซต์ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.2535  ปัจจุบันพบว่า มีเจ้าของเว็บไซต์แนะนำการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งลูกค้าในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรม ที่พักประเภทต่าง ๆ ร้านค้า สถานบันเทิง และแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ให้ความสนใจลงโฆษณาเกี่ยวกับธุรกิจของตนผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และจากหน้าโฆษณาที่ปรากฏนั้น ทำให้มีความก้าวหน้าเพิ่มเติม คือสามารถติดต่อลูกค้า รับจองห้องพัก และขายแพ็คเก็จทัวร์ให้ผู้ซื้อได้โดยตรง มีการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปเข้าบัญชีเจ้าของกิจการ ได้ ซึ่งบริษัทผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์จะได้รับผลประโยชน์เป็น

ค่า นายหน้า เมื่อมีการซื้อขายกันขึ้น     และในบางกรณีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต สามารถใช้บริการจองห้องพัก หรือแพคเก็จทัวร์ผ่านทางบริษัทเจ้าของเว็บไซต์ก็ได้ เพราะบริษัทสามารถซื้อห้องพักและแพคเก็จทัวร์มาไว้กับบริษัทเอง แล้วนำไปขายต่อผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ในการชำระเงินนั้น ผู้ซื้อก็จะต้องชำระเงินโดยตรงให้บริษัทผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งจะกระทำโดยวิธีใด ๆ ก็ได้แล้วแต่ความพอใจซึ่งกันและกัน บริษัทผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ แจ้งว่ามีความประสงค์จะให้บริการซื้อขายดังกล่าวเป็นการเสริมเพื่อบริการ ลูกค้าเพิ่มเติมจากการรับโฆษณา แต่อาจจะขัดกับ พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ได้นั้น สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ได้ชี้แจงให้ทราบทั่วกันว่า  พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 นิยามคำว่า “ธุรกิจนำเที่ยว” หมายความว่า ” การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหรือให้บริการ หรืออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง ที่พัก อาหาร ทัศนาจร และหรือมัคคุเทศก์ ให้แก่นักท่องเที่ยว ”  และ ” ค่าบริการ ” หมายความว่า “ค่าจ้างและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวจ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว สำหรับการจัดการให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร และการทัศนาจร ในลักษณะเป็นการเหมาจ่าย” การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางเว็บไซต์นั้น ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ส่วนการลงโฆษณาธุรกิจนำเที่ยวในเว็บไซต์ โดยผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกับธุรกิจนำเที่ยวได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเจ้าของเว็บไซต์ในลักษณะของแบนเนอร์ (BANNER) ก็ย่อมกระทำได้ แต่เจ้าของเว็บไซต์ควรตรวจสอบว่าธุรกิจนำเที่ยวที่มาลงโฆษณาในเว็บไซต์นั้น ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือไม่  แต่ในกรณีเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการจัดรายการนำเที่ยวบริการให้ผู้เข้ามา เยี่ยมชมเว็บไซต์เอง หรือกรณีที่มีการรับจองรายการนำเที่ยว (แพคเก็จทัวร์) จากผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยเจ้าของเว็บไซต์ได้รับค่าตอบแทนจากการติดต่อ ไม่ว่าจะชำระโดยตรงกับทางแหล่งท่องเที่ยวหรือที่พัก หรือชำระผ่านบริษัทเจ้าของเว็บไซต์ ก็ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามคำนิยามทางกฎหมาย ผู้ดำเนินการคือเจ้าของเว็บไซต์ดังกล่าว จะต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายที่กำหนดต่อไป การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี Internet : www.tat.or.th    E-mail Address : center@tat.orth ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ประชาชนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลในเว็บไซด์ได้

 

                 โครงสร้างทางการท่องเที่ยว  ที่ถือเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น คือ

1. โครงสร้างพื้นฐาน  ที่เป็นการก่อสร้างหลัก ๆ เช่น ถนน  สะพาน  สนามบิน  สถานีรถ โดยสารหรือสถานีรถไฟ  ระบบการสื่อสารคมนาคม  เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว  ในการเดินทางไปสู่จุดหมายอย่างสะดวกและปลอดภัย  สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณจากภาษีที่ประชาชนเป็น ผู้เสีย

2. โครงสร้างระดับสูง ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว  เช่น  สถานที่พักแรม  ภัตตาคาร  และร้านอาหาร  บริการต่าง ๆ แหล่งจับจ่ายซื้อสินค้า ศูนย์การค้า  สถานบันเทิง  โดยปกติเอกชนเป็นผู้สร้าง  เป็นผู้จัดหาในรูปของธุรกิจ ซึ่งบางแห่งอาจมีหน่วยงานของรัฐเข้าไปดูแลหรือสนับสนุน

โครง สร้างทั้ง 2 ประเภทเมื่อรวมกับแหล่งท่องเที่ยวก็ถือเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ดึงดูด นักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวได้เป็นอย่างดีการเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยว ควรกระทำสม่ำเสมอทั้งในช่วงระยะเวลาหรือฤดูกาลต่าง ๆ   ของแต่ละท้องถิ่น    แต่ละภาค  และทั้งบอกฤดูกาล   เพราะการท่องเที่ยวทำให้เศรษฐกิจของแต่ละท้องถิ่นเกิดการหมุนเวียน  ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้   เพราะนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางท่องเที่ยวย่อมต้องใช้จ่าย    รายจ่ายของนักท่องเที่ยวก็คือรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น  นอกเหนือจากการทำอาชีพหลักคือทำนาทำไร่     ว่างก็ทำและขายของที่ระลึกสินค้าพื้นเมือง      การใช้บริการของมัคคุเทศก์ในท้องถิ่น    การใช้บริการยานพาหนะ ฯลฯ    ช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอาชีพ    มีงานทำ    ลดปัญหาการว่างงาน    ค่าครองชีพของประชาชนในท้องถิ่นดีขึ้น  ทำให้ไม่ทิ้งถิ่นฐานเข้ามาหางานทำในเมืองหรืออพยพทิ้งถิ่นฐานเดิม ในการจัดธุรกิจการท่องเที่ยวแต่ละท้องถิ่นจะต้องพิจารณาแหล่งท่องเที่ยว   ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญคงสภาพความงามตามธรรมชาติ  หรือดัดแปลงให้กลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด   มีบริการด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัยซึ่งในระหว่างการเดินทาง  การค้างแรมและในขณะแวะชมแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

 

ประชาชน ในแต่ละท้องถิ่นจะต้องช่วยกันส่งเสริมการท่องเที่ยวในอันที่จะชักชวนนักท่อง เที่ยวให้มาท่องเที่ยวยังท้องถิ่นของตนได้ซึ่งการกระทำดังต่อไปนี้  ก็ถือเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอย่างหนึ่ง ซึ่งคนในท้องถิ่นช่วยกันทำได้  ดังนี้

1. พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว เช่น  โบราณสถาน  วัด     วนอุทยานต่าง ๆ   ให้สะอาด

น่าชมและพักผ่อนหย่อนใจ  และคงสภาพตามธรรมชาติหรือตามสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ให้อยู่ในสภาพดี

2. พาหนะที่ใช้เดินทางมีสภาพสมบูรณ์มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ

3. จัดสถานที่พัก  โรงแรม  บังกะโล  แพ  ให้สะอาดมีเครื่องอำนวยความสะดวกตามความเหมาะสม

4. จัดการดูแลอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัย  ทั้งระหว่างการเดินทางและในสถานที่พักแก่ นักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ

                5. มีแผนที่ที่พักของท้องถิ่นติดตั้งหรือแจกแก่นักท่องเที่ยว

                6. มีป้ายเขียนบอกชี้ทางหรือบอกชื่อสถานที่ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                7. มีส้วมสาธารณะที่สะอาดถูกสุขลักษณะในบริเวณใกล้เคียง

                8.จัดให้มีมัคคุเทศก์นำเที่ยวของท้องถิ่นที่ได้รับการอบรมมาแล้วจากการส่ง เสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย    หรือสถาบันต่าง ๆ   ที่เปิดสอนวิชามัคคุเทศก์โดยเฉพาะ

9. ประชาชนในท้องถิ่นมีอัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อนักท่องเที่ยว

              10.จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในท้องถิ่น

              11.จัดให้มีการควบคุมราคาค่าบริการ  ค่าพาหนะนำเที่ยวในท้องถิ่น   ให้อยู่ในระดับราคาปานกลาง   และในราคาเดียวกัน

             12.จัดสถานที่จำหน่ายของที่ระลึกให้เป็นระเบียบ   ควบคุมคุณภาพของสินค้าและราคาให้มีมาตรฐานเดียวกัน
13.จัดให้มีอาหารสะอาดมีคุณภาพและราคาพอสมคว

รูปแบบของการจัดธุรกิจท่องเที่ยว

1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ

นัก ท่องเที่ยวคนไทยเป็นผู้ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถี การดำเนินชีวิตอยู่ตลอดเวลา มีการเคลื่อนย้ายจากชีวิตในชนบทมาเป็นชีวิตในเมืองใหญ่  มีการเคลื่อนย้ายครอบครัวออกไปอยู่แถวชานเมือง  ซึ่งสามารถเดินทางไป-กลับจากที่พักไปที่ที่ทำงานในแต่ละวัน ใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการขนส่งและเดินทางมากกว่า 75% มีการเดินทางกลับไปเยี่ยมญาติ เพื่อนตามเมืองต่าง ๆ และถือว่าการเดินทางท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อน เป็นรางวัลชีวิต

 

2.การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

นัก ท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะมีมาตรฐานการครองชีพค่อนข้างสูง มีรายได้ระดับกลาง ซึ่งมักมีตำแหน่งานในระดับวิชาชีพชั้นสูง ผู้บริหารหรือหัวหน้างาน  สามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องมีการส่งออก เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศยังมีน้อยจึงต้องพึ่งรายได้ที่นักท่อง เที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาซื่งบริการในประเทศ เช่น ที่พัก ภัตตาคาร ซื้อสินค้าพื้นเมือง  ของที่ระลึกตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ

 

             3.การท่องเที่ยวเพื่อสังคม

ใน ทวีปยุโรป รัฐเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้พลเมืองที่มีฐานะเศรษฐกิจต่ำ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการเด็กกำพร้า  ให้ได้หยุดไปพักผ่อนในการออกค่ายฤดูร้อนตามสวนสาธารณะ อุทยานต่าง ๆ

 

             4.การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Conservation  Tourism)  แบ่งเป็น

4.1.  เที่ยวในแหล่งธรรมธาติ (Natural based Tourism)

        4.1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ ถือเป็น

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เน้นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว และมีส่วนร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น    มีลักษณะดังนี้

·       แหล่งท่องเที่ยว  เป็นพื้นที่ธรรมชาติ รวมทั้งแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดีและ

วัฒนธรรม ที่อยู่ในพื้นที่ธรรมชาตินั้น

·       ทุกฝ่ายรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่ทำลาย หรือทำให้เสื่อมโทรม

·       เน้นให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสสภาพแวดล้อมโดยตรง เพื่อเกิดการเรียนรู้ สร้างเสริมจรรยาบรรณด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบวก  และเกิดความพึงพอใจ

·       เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ประโยชน์กลับคืนสู่ธรรมชาติและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ได้เอื้อประโยชน์ต่อท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่มีการเสริมแต่ง หรือพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก

เช่น    กิจกรรมเดินป่า , ศึกษาธรรมชาติ , ถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกวีดีโอ เทปเสียงธรรมชาติ , ส่อง/ดูนก ,ศึกษา/เที่ยว ถ้ำ , ศึกษาท้องฟ้าและดาราศาสตร์ , ล่องเรือศึกษาธรรมชาติ , พายเรือแคนู/เรือคายัค/เรือบดเรือใบ , ดำน้ำชมปะการังน้ำตื้น , ดำน้ำลึก

4.1.2           การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล

4.1.3           การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

4.1.4           การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา

 

4.2      เที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (Cultural  based  Tourism)

4.2.1           การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

4.2.2           การท่องเที่ยวงานประเพณีวัฒนธรรม

4.2.3           การท่องเที่ยวดูวิถีชีวิตในชนบท

 

4.3             การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Health  Tourism)

 

ทรัพยากรการท่องเที่ยว

หมายถึง  สิ่งดึงดูดใจให้ผู้คนเดินทางมาเยือนท้องถิ่นนั้น ๆ  อันจะมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ  และสิ่งที่มีคุณค่าที่มนุษย์สร้างขึ้น  รวมทั้งเทศกาลและงานประเพณีประจำปีที่มีอยู่ใน

ท้องถิ่น  ดังนั้น  ทรัพยากรท่องเที่ยวจึงหมายถึง สถานที่ท่องเที่ยวและประเพณีของท้องถิ่น ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยว  ซึ่งหมายถึง  สถานที่ท่องเที่ยว  กิจกรรมและวัฒนธรรมประเพณี  ตลอดจนวิถีชีวิตอันน่าสนใจที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรม และเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่น  ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้ ทรัพยากรการท่องเที่ยวอาจแบ่งตามลักษณะ และความต้องการของนักท่องเที่ยวได้   3  ประเภท คือ

1.       ประเภทธรรมชาติ

เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  ได้แก่  ภูเขา  น้ำตก  ถ้ำ น้ำพุร้อน   บ่อน้ำร้อน  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  สวนสัตว์เปิด  อุทยานแห่งชาติ  วนอุทยาน  สวนรุกขชาติ  ทะเล  หาดทราย   หาดหิน  ทะเลสาบ  เกาะ  เขื่อน  อ่างเก็บน้ำ  แหล่งน้ำจืด  ตัวอย่าง  เช่น  ทะเลสาบสงขลา ,  ทุ่งใหญ่นเรศวร  อุตรดิตถ์  , เกาะตรุเตา  สตูล ,สวนสัตว์เปิดเขาเขียว  ชลบุรี  ,ดอยอินทนนท์  เชียงใหม่ ,   น้ำตกสาริกา – นางรอง  นครนายก  ,  ภูกระดึง – ภูเรือ -ภูหลวง   เลย  ,  เขื่อนภูมิพล    ตาก   ,     น้ำพุร้อนสันกำแพง  เชียงใหม่  ,  เกาะภูเก็ต   ,  เกาะเสม็ด  ระยอง  เป็นต้น

2.       ประเภทประวัติศาสตร์  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  และศาสนา

เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัตศาสตร์   เพื่อแสดงให้อนุชนรุ่นหลังรู้ถึงวีรกรรมบรรพบุรุษอนุรักษ์โบราณสถานวัตถุและ ศาสนา   ได้แก่  อุทยานประวัติศาสตร์  พิพิธภัณฑ์  ศาสนสถาน  อนุสาวรีย์    วัด  อนุสรณ์สถาน   กำแพงเมือง  คูเมือง  ชุมชนโบราณ ตัวอย่าง เช่น  วัดพระแก้ว  ,พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  , พระที่นั่งอนันตสมาคม   กรุงเทพ ,   ป้อมพระจุล   สมุทรปราการ  ,   รูปวาดสัตว์ที่ผาแต้ม   อุบลราชธานี  , หลักศิลาจารึกพ่อขุนราม-คำแหง   ,     อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน  สิงห์บุรี   ,    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย    สุโขทัย  ,  ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  บุรีรัมย์ เป็นต้น

3.       ประเภทศิลปวัฒนธรรม  ประเพณี  และกิจกรรม

เป็น การท่องเที่ยวในลักษณะของพิธี  งานประเพณี  ความเป็นอยู่วิถีไทย  ได้แก่ หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรม  สินค้าพื้นเมือง  เรือกสวนไร่นา  ตัวอย่าง  เช่น  ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ราชบุรี  ,   งานช้างจังหวัดสุรินทร์   , สวนสามพราน   นครปฐม ,  หมู่บ้านชาวเขา  เชียงราย   ,  งานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร ,  แข่งขันว่าวไทยที่บริเวณ  , สนามหลวง  ,    แข่งขันนกเขาชวาที่ปัตตานี  ,  งานผลไม้ที่จันทบุรี , งานลอยเรือไฟบูชาพระยานาค  ที่หนองคาย  ,  ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟที่สุโขทัย  เป็นต้น

 

                การจัดบริการนำเที่ยวสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ   เพราะค่าบริการนำเที่ยวที่เสนอแก่

นักท่องเที่ยวเป็นสิ่ง สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวในการที่จะตัดสินใจเลือกใช้บริการ  ดังนั้น  ธุรกิจจัดนำเที่ยวจะต้องสามารถคิดคำนวณรายจ่ายทั้งหมดได้   เพื่อหาค่าบริการเฉลี่ยต่อรายบุคคล  เสนอให้

นักท่องเที่ยวพิจารณา ควบคู่กันกับแผนการนำเที่ยว  ในการเตรียมรายการนำเที่ยว ผู้จัดนำเที่ยว จะต้องนำข้อมูลทั้งสิ้นที่ได้จากการเตรียมเส้นทางมาศึกษา วิเคราะห์  และกำหนด  ได้แก่

                1.  ระยะเวลาในการท่องเที่ยวตามเส้นทาง  ซึ่งอาจเป็นครึ่งวัน  หนึ่งวัน  มากกว่าวัน  จนถึงหนึ่งสัปดาห์ หรือมากกว่านั้น   การกำหนดระยะเวลานี้จะสัมพันธ์กับการคิดราคาค่าที่พักแรม  ที่ต้องกำหนดระเอียดเป็นวัน  :  คืน   เช่น  2 วัน 1 คืน , 3 วัน 2 คืน  เป็นต้น

                2.  กิจกรรมการท่องเที่ยว  เช่น ชมแหล่งท่องเที่ยว ซื้อสินค้า  ชมการแสดง พักผ่อนตามอัธยาศัย

3.       สถานที่รับประทานอาหารสถานที่พักแรม ตลอดจนสถานบริการต่างๆสำหรับ

นักท่องเที่ยว

                4.  พาหนะที่ใช้ในการบริการและท่องเที่ยว      เช่น    เครื่องบิน – รถโค้ช , รถโค้ช – เรือ , รถไฟ – รถโค้ช , รถโค้ช – แพ , แพ – ช้าง ฯลฯ

                5.  ราคาค่าใช้จ่ายตลอดรายการ  ซึ่งประกอบด้วย ค่าพาหนะ  ค่าอาหาร  ค่าที่พัก  ค่าบริการนำเที่ยว  ค่ามัคคุเทศก์  ค่าบริการของแหล่งท่องเที่ยว  เช่น ค่าผ่านประตู  ค่าเข้าชมการแสดง ค่าเป็นต้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  ตั้งแต่การเตรียมการ การประชาสัมพันธ์ จนเสร็จสิ้นรายการนำเที่ยว  บวกผลกำไร  และภาษี จะได้เสนอราคาขาย ของรายการนำเที่ยว

                6.  เงื่อนไขของค่าใช้จ่ายตามรายการ  โดยทั่วไปทัวร์เหมาจ่ายจะไม่รวมค่าอาหารบางมื้อ

ที่ไม่ ปรากฏอยู่ในกำหนดการ  ค่าภาษีสนามบิน  ค่าภาษีเดินทาง  ค่าค่าบริการซักรีดเสื้อผ้า  ค่าโทรศัพท์

ค่า ใช้จ่ายส่วนตัว  และค่าอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่นักท่องเที่ยวสั่งพิเศษนอกรายการ  เงื่อนไขเหล่านี้ต้องกำหนดไว้ในกำหนดการให้นักท่องเที่ยวทราบ

 

http://www.praveetelearning.com/elearning_content.php?subject_id=2&chapter_id=17&page=2&page=3&page=1&page=2&page=3&page=4

 

ใส่ความเห็น